situs togel online
situs togel
situs togel online toto terpercaya
situs togel online
situs togel
situs toto
ธุรกิจของคุณเหมาะกับ การทำการตลาดออนไลน์ ในรูปแบบใด

0

ธุรกิจของคุณเหมาะกับ การทำการตลาดออนไลน์ ในรูปแบบใด

หลายๆ ท่านที่กำลังจะวางแผนในการกระโดดเข้ามา เริ่มทำการตลาดออนไลน์ อาจจะพบปัญหาแรกๆ เลย ก็คือ เราจะต้องเริ่มต้นทำอะไรยังไง ผ่านช่องทางไหนบ้าง และควรเลือกใช้เครื่องมืออย่างไร วันนี้เรามีหลักคิดและแนวทางมาฝากกันในแบบเกณฑ์พื้นฐาน สำหรับมือใหม่ที่ต้องการเริ่มต้นทำการตลาดออนไลน์กันดังนี้

1.)

Search Marketing

การตลาดผ่านการค้นหา Search Engine

โดยหลักในปัจจุบันของไทยเราก็คงหนีไม่พ้น Google ธุรกิจที่เหมาะกับการเลือกใช้แนวทางการตลาดออนไลน์ในช่องทางของการค้นหานี้ ได้แก่ สินค้าหรือบริการที่เป็นที่รู้จักคุ้นเคยกับกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดีอยู่แล้ว และทุกครั้งที่เค้ามีความต้องการ มีปัญหาและต้องการการแก้ไข ก็จะเริ่มต้นด้วยการ Search หาสิ่งที่ต้องการ ซึ่งในทางการตลาดออนไลน์เรามักเรียกสิ่งนี้ว่าเป็น Real Needs คือ ความต้องการที่ชัดเจน หากธุรกิจใดที่เข้าข่ายนี้ ก็สามารถเลือกวิธีการในการทำการตลาดแบบ Search Marketing ได้ทั้งหมด ทั้งประเภทของ B2C และ B2B ไม่ว่าจะเป็น บ้านที่อยู่อาศัย ของใช้ในชีวิตประจำวันส่วนบุคคล หรือแม้แต่กระทั่งเครื่องจักร อุปกรณ์อิเลคโทรนิคและวัตถุดิบสำหรับงานอุตสาหกรรม ซึ่งเราสามารถตรวจสอบปริมาณการค้นหาได้ผ่าน เครื่องมือการวิเคราะห์ Key Word หลักและที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูปริมาณของการค้นหาในแต่ละช่วงเดือน หากมีปริมาณมากเพียงพอ การทำตลาดออนไลน์ในช่องทางนี้ ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากตามไปด้วยเช่นกัน โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีองค์ประกอบของการทำแผนการตลาดออนไลน์ประกอบด้วย

1.1)

Website Platform

แน่นอนว่าสิ่งแรกที่ธุรกิจของคุณจำเป็นจะต้องมีก็คือเว็บไซต์ธุรกิจองค์กรของคุณนั่นเอง เพื่อรองรับการแสดงผลการค้นหา และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยในเว็บไซต์นั้นจะทำให้เนื้อหาครอบคลุมในมิติอะไรบ้าง ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราต้องการให้รองรับการค้นหาใน คำค้นหาอะไร หรือเพื่อให้สินค้าและบริการของเราไปครอบคลุมการแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ค้นหาได้มากน้อยเพียงใดนั่นเอง โดยพื้นฐานง่ายๆ และหลักของเว็บไซต์ที่จะจัดทำขึ้น เพื่อรองรับการตลาดออนไลน์ในลักษณะนี้ มีกลยุทธ์หลักๆ ประกอบด้วย

  • มีเนื้อหาครอบคลุมกับคำค้นหา ที่กลุ่มเป้าหมายได้ทำการค้นหามา อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์มากเพียงพอ
  • มีความน่าเชื่อถือ หรือสร้างความประทับใจที่โดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่ง เมื่อเข้าเยี่ยมเว็บไซต์และทำการเปรียบเทียบ
  • มีคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการอยู่ในกรอบของความคาดหวังของกลุ่มเป้าหมาย
  • มีการกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจสิ่งซื้อหรือติดต่อเข้ามาสอบถามเพิ่มเติมที่ง่าย เพียงพอ

1.2)

E-Commerce Platform

เมื่อคุณมีสินค้าเป็นรายชิ้นจำนวนมากและสามารถตัดสินใจสั่งซื้อสินค้ารวมถึงความสามารถในการจัดส่งได้ทันที การเลือกใช้การวางแพลทฟอร์ม E-Commerce ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นมือถือ จะช่วยในการเพิ่มความสะดวกให้กับกลุ่มเป้าหมายในการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าที่ต้องการได้ทันทีโดยง่าย รวมถึงยังอาจจะมองหาสินค้าที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ซึ่งกลยุทธ์สำหรับเว็บไซต์ E-Commerce นั้นสามารถทำได้หลากหลาย ตั้งแต่การกระตุ้นให้เกิดการซื้อครั้งแรก ซื้อเพิ่มเติมด้วยการทำ Up Sell เพิ่มจำนวนของสินค้านั้นเพื่อให้ได้ราคาส่วนลด หรือ Cross Sell การขายสินค้าอื่นๆ พ่วงไปด้วยกัน สร้างการซื้อซ้ำด้วยโปรแกรม Member Reward สะสมแต้ม หรือกระตุ้นผ่าน LineOA เมื่อมีโปรโมชั่นใหม่ๆ รวมถึงการสร้างความน่าเชื่อและบอกต่อ ด้วยการ Review สินค้าจากผู้ที่เคยสั่งซื้อ เป็นต้น

เมื่อเราเตรียมความพร้อมทางด้านเว็บไซต์และแพลทฟอร์มได้ตามที่ต้องการแล้ว ในลำดับต่อไปคือการหา Traffic ที่จะเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ และทำการคัดกรองไปสู่กระบวนการของการสั่งซื้อต่อไป ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วอาจจะมีหลายวิธี เพียงแต่เราจะยกมาในเรื่องของการทำให้เว็บไซต์ติดอันดับการค้นหาที่ดีผ่าน 2 กลยุทธ์หลัก คือ SEO และ SEM ดังนี้

1.3)

SEO

Search Engine Optimization คือ การปรับปรุงเว็บไซต์ของเราให้เข้าหลักเกณฑ์ของการค้นหาและแสดงผลที่ดีผ่าน Search Engine ซึ่งโดยหลักการพื้นฐานแล้ว Search Engine จะพยายามคัดสรรเว็บไซต์ที่คิดว่ามีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด นำมาเสนอให้กับผู้ค้นหา ซึ่งในความเป็นจริงแล้วยังมีเทคนิคของการทำ SEO On Page / Off Page อีกมากมายที่จะมีส่วนช่วยให้ Ranking ในการจัดอันดับการค้นหาของเรานั้นแสดงผลได้ในตำแหน่งบนๆ หรือในหน้าแรก ลำดับแรกๆ ซึ่งก็จะเพิ่มโอกาสในการคลิ๊กเข้าสู่เว็บไซต์ของกลุ่มเป้าหมายนั่นเอง ซึ่งจะได้ไว้ทำการลงรายละเอียดให้ในบทความอื่นๆ

อย่างไรก็ดี สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การวิเคราะห์ดู Key Word และตัดสินใจที่จะกำหนดเป็นแผนงานในการปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับการค้นหาว่า Key Word คำใด หรือกลุ่มคำใด น่าจะเป็นคำที่กลุ่มเป้าหมายคุณภาพที่มีโอกาสในการเลือกค้นหามากที่สุด เพื่อให้เราได้เจอกับลูกค้าที่ตรงและเหมาะสมกับแบรนด์ที่สุด ซึ่งจะสร้างโอกาสในการขายได้ง่าย กว่าการแสดงผลเว็บไซต์ของเราผ่าน Key Word ที่ไม่ได้จำเพาะเจาะจงมากนัก

1.4)

SEM

Search Engine Marketing เป็นกระบวนการในการทำการตลาดผ่านการโฆษณา ผ่านการค้นหาของ Google Ad หรือที่เราคุ้นเคยกันในคำว่า การซื้อโฆษณา Adword นั่นเอง ด้วยการเลือกใช้แผนงานโฆษณาผ่านการค้นหา โดยยินดีที่จะเสียค่าใช้จ่ายให้กับทาง Google ก็จะช่วยให้เว็บไซต์ของเราได้มีโอกาสในการไปแสดงผล อยู่ในหน้าของการค้นหาได้ทันที โดยไม่ต้องรอเวลาในการปรับแต่ง SEO แต่อย่างใด ซึ่งปัจจุบัน ในมิติของการซื้อโฆษณา Adword เองในบางกลุ่มคำก็มีการแข่งขันกันที่ค่อนข้างสูง เทคนิคในการวางแผนเพื่อซื้อโฆษณาในค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่า จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นทีอาจจะต้องใช้มืออาชีพ หรือต้องทำการเรียนรู้และฝึกฝนเพื่อสร้างประสิทธิภาพสูงสุดให้กับการลงทุนนั้นๆ

จริงๆ แล้วในส่วนของการวาง Digital Strategic Plan ที่ Focus อยู่บนการ Search ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่สามารถเพิ่มเติมเข้ามาได้อีกหลายอย่าง เช่น การเก็บข้อมูลของลูกค้าผ่าน LineOA การเพิ่มระบบ Web Chat เพื่อเพิ่มความสะดวกของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ต้องการพูดคุยแบบรวดเร็ว ทันทีทันใด การเพิ่มระบบ Subscribe E-mail เพื่อใช้ทำ E-mail Marketing ในคราวหลัง และสื่อสารได้อย่างต่อเนื่องกับกลุ่มเป้าหมาย เหล่านี้ก็จะเป็นส่วนเพิ่มเติมให้ผลลัพธ์ในการทำการตลาดในแนวทางนี้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

2.)

Social Marketing

การทำตลาดผ่านช่องทางโซเชียล

เป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าปัจจุบันนี้ เกือบทุกคนของประเทศเราและส่วนใหญ่ของโลก ก็เชื่อมต่อกันผ่าน Plarform Social ใด Platform หนึ่งตามที่แต่ละคนชื่นชอบและสนใจ สำหรับประเทศไทยเราแล้ว อันดับแรกที่ทุกคนนึกถึง ก็คงจะเป็น Facebook หรือ Line@ นั่นทำให้เราเห็นภาพของตลาดขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งก็ยังคงแบ่งออกเป็น Segment ย่อยๆ ลงมาเป็นกลุ่ม เป็นเพจที่ติดตาม ตามความชื่นชอบและสนใจของแต่ละคน ด้วยความเชื่อมโยงกันของทุกคนและมีปริมาณของขนาดของกลุ่มที่ใหญ่มาก การสื่อสารผ่านช่องทางโซเชียลอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีโอกาสในการได้รับการตอบรับที่เร็วที่สุดกว่า การทำตลาดออนไลน์ผ่านช่องทางอื่นๆ จึงเกิดกระแสของความนิยมในการเลือกกลยุทธ์ทางการตลาดทางโซเชียลหรือ Facebook มาเป็นลำดับแรกๆ ของแผนการตลาดออนไลน์

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเมื่อทุกคนเข้ามาพยายามที่จะสื่อสารการตลาด และแย่งชิงพื้นที่สื่อ รวมถึงการสร้างความสนใจให้เกิดขึ้นกับแบรนด์มันจึงไม่เป็นการง่ายเลยในการที่จะเกิดประสิทธิภาพและผลลัพธ์อย่างที่คาดหวังในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นหากจะเริ่มในการทำตลาดในช่องทางนี้ อาจจะต้องมีการวางแผนที่ค่อนข้างลงรายละเอียด และวัดผลในระยะยาวมากยิ่งขึ้นสำหรับในยุคปัจจุบัน ที่อาจจะมีความแตกต่างจากยุคเฟื่องฟูของการทำการตลาดออนไลน์ในยุคก่อนๆ

โดยธุรกิจที่น่าจะเป็นที่ตอบรับได้ดีผ่านช่องทางโซเชียล ในพื้นฐานแล้วก็จะเป็นสินค้าหรือบริการส่วนบุคคล ที่มีระดับราคาไม่สูงมากนัก อาจจะอยู่ในช่วงราคาไม่เกิน 500 บาท หรืออย่างมากที่สุดไม่เกิน 1,000 บาท ซึ่งเมื่อเราสามารถสื่อสารออกไปเจอกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมแล้ว เกิดความสนใจ อาจจะตัดสินใจสอบถามผ่านช่องทาง Chat หรือ Inbox และสามารถปิดการขายได้ทันทีแบบไม่ยากมากนัก ก็นับว่าเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถสร้างผลลัพธ์ได้แบบค่อนข้างเร็ว แต่ในทางกลับกัน สินค้าหรือบริการนั้น ไม่ใช่การซื้อเพื่อความต้องการส่วนบุคคล เช่น การซื้อขายในแบบ B2B รวมถึงระดับราคาค่อนข้างสูง มิติของการใช้งานการตลาดออนไลน์ผ่านช่องทางโซเชียล อาจจำเป็นต้องปรับวัตถุประสงค์ใหม่ ไม่ใช่เพื่อการตลาดเพื่อการสร้างยอดขาย แต่เป็นเพียงช่องทางในการประชาสัมพันธ์ และช่วยให้เราได้สื่อสารอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมายได้ตลอดเวลาต่างหาก ที่ควรจะกำหนดเป็น Focus หลักของแผนงานการตลาดออนไลน์ โดยองค์ประกอบที่จะต้องคำนึงถึง สำหรับแนวทางการทำตลอดออนไลน์ผ่านช่องทางอาจจะประกอบด้วย

2.1)

Facebook Fanpage & Content Marketing

การเปิด Facebook Fanpage แทบจะเป็นเรื่องพื้นฐานที่จะต้องทำ เหมือนเป็นท่ามาตรฐานไปแล้วสำหรับการตลาดออนไลน์ในยุคปัจจุบัน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะเชื่อมโยงไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ใช้งานอยู่บน Platform นี้ หรือเพื่อสื่อสารและส่งต่อเรื่องราวของแบรนด์ของเราออกไปในวงกว้างมากยิ่งขึ้น ด้วยวิธีการสร้างให้เกิดการแชร์ การคอมเม้นท์ เรื่องราวของเรา ในขณะเดียวกัน เนื้อหาต่างๆ ทั้งในรูปแบบของ ข้อความ บทความสาระประโยชน์ ภาพกิจกรรม สินค้าหรือบริการ รวมถึงรีวิวในรูปแบบภาพและวีดีโอ ก็จะมีส่วนช่วยเหลือในการสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดกับแบรนด์นั้นๆ ได้เป็นอย่างดี

หลักใหญ่สำคัญสำหรับการทำการตลาด Facebook Marketing สำหรับวันนี้ คงเป็นเรื่องของความสม่ำเสมอ และการสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจ มีประโยชน์สำหรับกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากเราจำเป็นที่จะต้องแย่งชิงพื้นที่หน้าฟีตผ่านการไถหน้าจอมือถือ ของกลุ่มผู้ใช้งาน ที่พร้อมจะเลื่อนผ่านอย่างรวดเร็ว ดังนั้น Key หลักที่อยากย้ำจริงๆ จึงมีเพียงสองอย่าง ถ้าจะเลือก Focus ในแนวทางนี้ก็คือ การทำเนื้อหาที่น่าสนใจมีประโยชน์ และมีความสม่ำเสมอมากเพียงพอ ที่จะทำให้เกิดการจดจำแบรนด์ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วก็เป็นเรื่องที่ยากที่จะมีโอกาสประสบความสำเร็จในช่องทางนี้

2.2)

Facebook Ad Marketing

จุดเด่นที่สุดจุดหนึ่งของ Platform Facebook ก็คือ เรื่องการการโฆษณาสื่อสารเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ การนำส่งโฆษณาอย่างมีประสิทธิภาพ ตรงกับกลุ่มที่ใช่ที่เราเลือกหรือกำหนดได้เอง ย่อมส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว เพียงแต่ว่าในปัจจุบัน ทุกธุรกิจก็มุ่งสู่กลยุทธ์การโฆษณาผ่านช่องทาง Facebook และทำให้ Ad โฆษณาของเราจำเป็นจะต้องลงทุนแข่งขันในต้นทุนที่สูงขึ้น ในขณะที่กลุ่มเป้าหมาย อาจจะมีหลายสิ่งหลายเรื่องต้องสนใจ ทำให้การยิงแอดโฆษณา Facebook แบบเดิมอาจจะไม่ได้ผล จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนวิธีคิดในการทำการตลาดผ่านการโฆษณากันใหม่ในยุคนี้ ที่จะต้องมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นในการวางแผนการปล่อยโฆษณา ซึ่งเรื่องนี้จำเป็นจะต้องศึกษาอย่างลึกซึ่ง โดยเฉพาะการทำเนื้อหาคอนเทนต์ที่น่าสนใจและโดนใจกลุ่มเป้าหมายจริงๆ ไม่เช่นนั้นแล้วเราก็จะเสียค่าใช้จ่ายในการส่งโฆษณาไปโดยเปล่าประโยชน์ รวมถึงจำเป็นต้องฝึกฝน วิเคราะห์ปรับแก้ไขและหมั่นคอยติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบน Platform อย่างสม่ำเสมอ หากเราคิดจะเลือกแนวกลยทุธ์นี้เป็นแนวทางหลักในการทำการตลาดออนไลน์ของธุรกิจของเรา

2.3)

Sale Page / Landing Page

เว็บไซต์ปิดการขายแบบหน้าเดียว หรือแลนดิ้งเพจ เกิดจากปัญหาข้อจำกัดทางด้านการโฆษณาผ่าน Facebook ที่หลายๆ ครั้ง เราไม่สามารถที่จะใส่ข้อมูลรายละเอียดลงไปได้ทั้งหมด รวมถึงการจัดวางรูปแบบให้สวยงาม น่าสนใจ และลำดับเรื่องราวของการสื่อสารที่ดีได้ อันนี้เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของการนำ Sale Page และ Landing Page มาใช้ รวมถึงเทคนิคเพิ่มเติมในการวาง Pixel เพื่อเก็บข้อมูลของ Custom Audience นำกลับมาใช้ได้ใหม่ทั้งการทำ Look a like หรือ Retargeting ที่เรารู้จักกันในรูปแบบของการตลาดหลอกหลอนนั่นเอง

ในการวางแผนการตลาดออนไลน์ในเชิงปฎิบัติจริงๆ เราสามารถที่จะสร้าง Sale Page แยกเป็นรายสินค้า หรือรายแคมเปญการตลาด หรืออาจจะแยกตาม Segmentation ของกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมด้วยก็ได้ และนำผลลัพธ์ที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงและเลือกใช้งานชุด Sale Page ที่ประสบผลสำเร็จหรือมีประสิทธิภาพที่ดี

2.4)

Line OA (Official Account)

ในเบื้องต้น อาจจะยังไม่ขอลงลึกในส่วนของการทำการตลาดออนไลน์ ผ่านช่องทาง LineOA เป็นหลัก ถึงแม้ว่า Line Thailand จะมี Function ของการทำการตลาดออนไลน์ออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้ง Line Myshop หรือแม้กระทั่งการซื้อโฆษณาผ่าน Line Mobile App

สิ่งที่อยากแนะนำสำหรับธุรกิจในช่วงเริ่มต้น ถึงการนำ LineOA มาประกอบเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในแผนการตลาดออนไลน์ คงเป็นเรื่องของการเก็บรายชื่อลูกค้าคาดหวัง หรือกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจในสินค้าหรือบริการของเราระดับหนึ่งแต่อาจจะยังไม่ได้ตัดสินใจในการสั่งซื้อ เมื่อเราเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้มาอยู่ใน Platform LineOA ของเราได้แล้ว สิ่งที่สำคัญในลำดับต่อไป คือ การสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายอย่างสม่าเสมอ เป็นระยะๆ ไป โดยอาจจะมีทั้งโปรโมชั่นในการกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจ การนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในมิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้าหรือบริการ อันนี้คือมิติแรกของสิ่งที่จะได้รับหากเรามี LineOA 

อีกส่วนหนึ่งสำหรับธุรกิจที่กลุ่มลูกค้า มีโอกาสซื้อซ้ำได้ เช่น ร้านอาหาร เสื้อผ้า แฟชั่น หรือสินค้าอื่นๆ ส่วนบุคคล การนำ LineOA จะช่วยเพิ่มเติมทั้งในมิติของความสะดวกในการสั่งซื้อซ้ำ และยังสามารถคอยกระตุ้นด้วยโปรโมชั่นที่จะคอยติดตามไปตามรอบกำหนดที่มีโอกาสในการสั่งซื้อใหม่ด้วยเช่นกัน และทำให้เราสามารถเพิ่มยอดขายได้มากขึ้นจากฐานลูกค้าเดิม โดยไม่ต้องเสียค่าทำการตลาดใหม่อีกด้วย

3.)

Market Place & Sharing Platform

การขายของออนไลน์ผ่านเว็บไซต์แพลทฟอร์มยอดนิยม

Market Place ก็เหมือนแหล่งรวมสินค้าที่หลากหลายเข้ามาอยู่รวมกัน และแน่นอนว่าก็ย่อมเป็นศูนย์รวมของกลุ่มลูกค้าที่กำลังมองหาด้วยเช่นกัน หากเปรียบไปในโลก Offline ก็อาจจะเหมือน ตลาดสด ตลาดนัด งานแฟร์ หรือแม้กระทั่งห้างสรรพสินค้า เพียงแต่ในโลกของออนไลน์นั้น มีความได้เปรียบเป็นอย่างมากในเรื่อง ไม่มีข้อจำกัดในด้านการเดินทาง ขนาดของสถานที่ จำนวนร้านค้า จำนวนสินค้า รวมถึงการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าได้อย่างกว้างขวางไม่มีที่สิ่นสุดทั้งในระดับทั่วประเทศหรือทั่วโลก

สำหรับ Market Place ที่เป็นที่ยอดนิยมที่สุดสำหรับเมืองไทยเราเองนั้น คงหนีไม่พ้น เว็บไซต์ Lazada และ Shopee ที่ได้รวบรวมสินค้าจากทั้งในประเทศเองรวมถึงผู้ค้าจากต่างประเทศเข้ามารวมกัน ทำให้กลายเป็นแหล่งช๊อปปิ้งออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในขณะนี้ ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่า ข้อดีของการทำการตลาดออนไลน์ผ่านทางช่องทาง Market Place มีอะไรกันบ้าง

ข้อดีของการทำการตลาดผ่าน Market Place

  • เป็นแหล่งที่มีกำลังซื้อขนาดใหญ่หมุนเวียนในทุกๆ หมวดสินค้า เมื่อทุกคนเริ่มคิดที่จะค้นหาสินค้าอะไรก็ตามในมิติของอุปโภค บริโภค ที่ไม่ใช่บริการเฉพาะด้านหรือสินค้าเชิงเทคนิค มักจะเริ่มต้นด้วยการค้นหาผ่าน Platform Market Place เป็นหลัก นั่นหมายถึงว่า ถ้าเรามีสินค้าของเราได้มีโอกาสนำเสนออยู่ในแพลทฟอร์มเหล่านี้ อย่างแรกเลย คงเป็นเรื่องของสามารถสร้างให้เกิดการรู้จักในแบรนด์ของเรา หากสินค้าของเรามีคุณภาพและราคาแข่งขันกับคู่แข่งอื่นๆ ได้ นั่นก็หมายถึงโอกาสในการขายดีดีนั่นเอง

  • เปิดร้านได้ง่ายไม่ว่าจะเป็นแบบเริ่มต้นขนาดเล็กหรือแบรนด์ขนาดใหญ่โดยไม่ต้องใช้เงินทุนเมื่อเทียบกับการเปิดหน้าร้าน Offline หรือการทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ เป็นของตัวเองเพื่อขายสินค้า โดยแต่ละ Market Place ก็จะมีส่วนของการสอนหรือแนะนำวิธีการใช้งานระบบแก่ผู้ค้า เพื่อช่วยให้ผู้ค้าได้สามารถขายของของตัวเองได้ และสามารถเติบโตและทำธุรกิจบนแพลทฟอร์มของเขากันทั้งสิ้น เมื่อมีผู้ค้าประสบความสำเร็จมากๆ ตัว Market Place ก็ย่อมได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้ที่ต้องการทำธุรกิจออนไลน์ เป็นการขยายผลกลุ่มเป้าหมายออกไปในอีกมิติหนึ่ง

  • จะเป็นตัวกลางของการรับและจ่ายเงินค่าสินค้า ดังนั้นจึงหมดปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือของร้านค้านั้นๆ แม้เราจะเพิ่งเปิดร้านใหม่ หากว่าสินค้าของเรามีคุณภาพตรงกับที่โฆษณาไว้ สามารถจัดส่งถึงมือผู้ซื้อได้จริง ก็จะเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากในการตัดสินใจของกลุ่มผู้ซื้อ ด้วยการประกันการมิติต่างๆ ของแพลทฟอร์ม

  • Market Place จะเป็นตัวกลางของการรับและจ่ายเงินค่าสินค้า ดังนั้นจึงหมดปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือของร้านค้านั้นๆ แม้เราจะเพิ่งเปิดร้านใหม่ หากว่าสินค้าของเรามีคุณภาพตรงกับที่โฆษณาไว้ สามารถจัดส่งถึงมือผู้ซื้อได้จริง ก็จะเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากในการตัดสินใจของกลุ่มผู้ซื้อ ด้วยการประกันการมิติต่างๆ ของแพลทฟอร์ม

ข้อจำกัดหรืออุปสรรคของการทำการตลาดผ่าน Market Place

  • เมื่อ Market Place เป็นแหล่งรวมสินค้าจากทั่วทุกมุมของประเทศหรืออาจจะแม้กระทั่งสินค้าจากต่างประเทศ แน่นอนว่าถ้าสินค้าไม่มีความแตกต่างกัน การเปรียบเทียบสินค้าของเรากับสินค้าเทียบเคียงของคู่แข่ง เป็นเรื่องที่ทำได้โดยง่าย เมื่อเค้าสามารถทำราคาได้ดีกว่า มีความน่าเชื่อถือในการขายมากกว่า อาจจะร้านค้าเปิดมานานกว่า มีรีวิวจากผู้ที่ซื้อไปมากกว่า เหล่านี้ ก็อาจจะเป็นอุปสรรคในการขายของเราบนช่องทางนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นก่อนจะเริ่มเปิดร้าน เราอาจจะต้องเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์หาช่องว่างของสินค้าในหมวดนั้นๆ ที่เราจะขายบนแพลทฟอร์มก่อนเป็นอันดับแรกจะเป็นการดีที่สุด หรือวางแผนในการทำโฆษณาบนแพลทฟอร์มเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดการนำเสนอสินค้าได้บ่อยครั้งกว่าคู่แข่ง ก็อาจจะเป็นอีกวิธีหนึ่งด้วยเช่นกัน

  • การจัดการ Stock สินค้าก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่คุณจำเป็นจะต้องวางแผนล่วงหน้า ในกรณีที่มีการขายสินค้าผ่านหลายๆ ช่องทางเช่น ขายหน้าร้าน บนเพจ ใน Line และ Market Place แต่ในปัจจุบันก็จะมี Tools เครื่องมือเข้ามาช่วยในการอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อ Stock จากแหล่งต่างๆ เข้ามาด้วยกัน และยังสามารถ Monitor คำสั่งซื้อรวมได้อีกด้วย

ส่วนธุรกิจไหนที่เหมาะกับช่องทางการทำตลาดออนไลน์ผ่าน Market Place บ้าง ก็คงต้องบอกว่า ธุรกิจผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายสินค้าพื้นฐานทั้งหมด ทำได้ทั้งหมดทั้งอุปโภค บริโภค ของใช้ในครัวเรือน เฟอร์นิเจอร์ของตกแต่งบ้าน และสินค้าอื่นๆ สิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตต่างๆ ที่คาดว่ากลุ่มเป้าหมายรู้จักเป็นอย่างดีแล้วและน่าจะทำการค้นหาสินค้า เมื่อเกิดความต้องการ

ส่วนการสร้างร้าน การจัดการและการวางแผนการโปรโมทบนแพลทฟอร์มยอดนิยมอย่าง Lazada / Shopee ปัจจุบันก็เริ่มมีการให้ความรู้กันอย่างกว้างขวาง สามารถหาศึกษาได้จากแหล่งต่างๆ ในออนไลน์ ทั้งวีดีโอแนะนำหรือคอร์สเรียนออนไลน์เพิ่มเติม ซึ่งก็จะไม่ใช้เป็นเรื่องยากหากเราคิดว่าจะทำการตลาดเน้นหนักมาทางนี้

4.)

Content Marketing

การตลาดแบบสร้างเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ เพื่อดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย

ในโลกของความเป็นจริงที่เราอยู่กับ การโฆษณาและประชาสัมพันธ์กันแบบตลอดชีวิตตั้งแต่เกิด ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ ในโลก Offline เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรือแม้แต่การโฆษณาออนไลน์ในปัจจุบัน ที่เริ่มถาโถมเข้ามาอย่างหนักหน่วงในช่วง 5 ปีหลัง ผ่านหน้า Feed Social ของเรา ทำให้ทุกคนมีความรู้สึก เบื่อหน่ายและต่อต้าน การรับสื่อสารจากแบรนด์สินค้าหรือบริการโดยทั่วไปกันแทบทั้งสิ้น

แนวคิดในการสื่อสารการตลาด จึงไม่อาจจะที่จะใช้แนวทางเดิม โดยการทำการโฆษณาสินค้าหรือบริการ บอกสิ่งที่จะขาย นำเสนอจุดเด่นและคุณประโยชน์ออกไปตรงๆ แนวโน้มของการใช้กลยุทธ์การตลาดแบบนี้ เริ่มที่จะอยู่ในภาวะดื้อยา คือ ทันทีที่กลุ่มเป้าหมายเข้าใจได้ว่ามันคือ โฆษณา ก็จะทำการปฎิเสธ ไม่ว่าจะเลื่อนนิ้วหนีไป หรือไม่สนใจทันที สิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่มาของการตลาดแบบสร้างเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ สำหรับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อดึงดูดความสนใจ เปลี่ยนสภาวะจากคนแปลกหน้า มาเป็นคนคุ้นเคยและชื่นชอบให้ได้เสียก่อน ที่จะเริ่มกระบวนการการขาย หลักการนี้นักการตลาดจึงเรียกมันว่า Content Marketing

ธุรกิจที่เหมาะที่จะเน้นหนักจะเลือกแนวทางการตลาดออนไลน์ในรูปแบบ Content Marketing จึงเป็นธุรกิจที่ไม่อาจจะตัดสินใจในการซื้อขายกันทันที หรือในระยะเวลาสั้นๆ และต้องการความน่าเชื่อถือของแบรนด์เองสูง เช่น ธุรกิจการให้บริการต่างๆ คลีนิคความสวยความงาม บริการธุรกิจที่ปรึกษาต่างๆ ถ้าเป็นแบรนด์สินค้า ก็อาจจะเป็นสินค้าที่มีระดับราคาสูง บ้าน อสังหาริมทรัพย์หรือแม้แต่ธุรกิจก่อสร้าง ก็ควรที่จะมีส่วนของแผนแนวทางนี้ประกอบ รวมถึงสินค้าที่มีรายละเอียดเชิงเทคนิคค่อนข้างเยอะ หรือสินค้านั้นเป็นสินค้าใหม่ในท้องตลาด ยังไม่เป็นที่รู้จักในเรื่องของคุณประโยชน์อย่างแท้จริง ยังขาดการยอมรับจากตลาด เป็นต้น

ส่วนช่องทางที่เราสามารถเลือกในการเผยแพร่คอนเทนต์ไปสู่กลุ่มเป้าหมาย ก็มีค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งก็สามารถเลือกใช้ได้ตามความนิยมของกลุ่มเป้าหมาย หรือเลือกให้เหมาะกับรูปแบบของเนื้อหาและธุรกิจที่เราต้องการสื่อสารออกไปดังนี้

4.1)

Facebook Post Content

พื้นฐานที่สุดเลย ก็คือการทำ Content ผ่าน Facebook Fanpage ของเรานั่นเอง เพราะมีความเหมาะสมในเกือบทุกด้าน ทั้งในด้านของความง่ายของแพลทฟอร์ม ความสะดวกในการส่งต่อแชร์บทความสาระออกไป หากผู้อ่านรู้สึกว่าเป็นเนื้อหาที่ดี ก็จะมีส่วนช่วยให้เกิดการกระจายได้ง่าย หลักสำคัญคงเป็นเรื่องของการทำอย่างสม่ำเสมอ และมีรูปแบบที่น่าสนใจ สามารถเลือกใช้ได้ตั้งแต่ รูปแบบข้อความผสมกับภาพประกอบ หรือเป็น Album ภาพก็ดูน่าสนใจ และที่น่าจะโดดเด่นที่สุดสำหรับ Facebook ในปีนี้ คงหนีไม่พ้นในเรื่องของ การ Live สด ซึ่งเราสามารถที่จะ Live เพื่อแนะนำสาระประโยชน์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องขายของ หรืออาจจะเลือกในรูปแบบของการทำวีดีโอคอนเทนต์ให้ความรู้ เพื่อให้ง่ายในการบริหารจัดการ ก็เป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่ง

4.2)

SEO Content

การลงทุนทำการตลาดออนไลน์ ถ้าวางแผนได้ดีแล้ว จะเปรียบเสมือนกับการลงทุนในสินทรัพย์ธุรกิจในโลกปกติด้วยเช่นกัน และหนึ่งในการลงทุนสินทรัพย์ออนไลน์ที่ดีที่สุดสำหรับยุคนี้ คือ การสร้างเนื้อหาบทความสาระประโยชน์ ในรูปแบบของเนื้อหาผ่านเว็บไซต์และให้มีรูปแบบที่สามารถค้นหาเจอผ่าน คำค้นที่คาดว่าจะเป็นปัญหาหรือที่ถูกมองหาจากกลุ่มเป้าหมาย กลยุทธ์ในรูปแบบนี้ เรียกว่า การทำ Content SEO ซึ่งสามารถลงทุนทำไปเรื่อยๆ อาจจะใช้ระยะเวลาบ้าง แต่เนื้อหาเหล่านี้ จะติดอยู่ในพื้นที่การค้นหาของอันดับ Search Engine ตลอดไป จนกว่าจะมีเนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจกว่ามาทดแทน การทำกลยุทธ์ในรูปแบบนี้ จึงเปรียบเสมือนการสร้างสินทรัพย์ออนไลน์ ที่นับวันจะมีแต่เพิ่มมูลค่าในตัวเอง โดยการนำพา Organic Traffic แบบที่เราไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมายังเว็บไซต์แบรนด์ของเรา รวมถึงเป็นกลุ่มเป้าหมายมุ่งหวังจริงๆ ที่ถูกคัดกรองมาด้วยคำค้นหาที่เราได้เลือกไว้ จึงทำให้มั่นใจได้ว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ตรงและเหมาะสมกับเราอย่างแท้จริง

ส่วนการดำเนินการในการสร้างเนื้อหาบทความสาระประโยชน์ อาจจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการบ้าง สิ่งเหล่านี้เหมือนการปรับปรุงต่อเติมร้านค้าธุรกิจของเรา ที่เราค่อยๆ เติมแต่งและค่อยๆ เติบโตมากยิ่งขึ้นในแต่ละปี สิ่งที่สำคัญคือ ลงทุนทำแล้วมันจะอยู่กับเราอย่างมั่นคงยั่งยืน และแทบจะถือว่าเป็นจุดยืนที่โดดเด่นที่สุดของกลยุทธ์เว็บไซต์ในยุคนี้เลยก็ว่าได้

4.3)

Youtube Channel

สำหรับ Youtube แล้วถึงว่าเป็น Platform ที่มีการค้นหาจากกลุ่มผู้ใช้งานเป็นอันดับที่ 2 รองจาก Google ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว การค้นหาผ่านช่องทางนี้ เพื่อที่จะมองหาเนื้อหาสาระของวีดีโอในมิติของ How to เป็นหลักอันดับแรก ดังนั้น หากแบรนด์ของเรามีสินค้าหรือบริการที่สามารถ แนะนำให้ความรู้ได้ด้วยวิดีโอจึงมีความเหมาะสมมาก ที่จะใช้งานในช่องทางนี้ การพัฒนาเนื้อหาคอนเทนต์ในรูปแบบของวีดีโอแม้ว่าจะมีความยุ่งยากมากกว่าในมิติของการทำบทความ แต่แน่นอนว่าในมิติของมูลค่าที่เกิดประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมาย ก็ย่อมได้ภาพที่ชัดเจนกว่า ลึกซึ่งกว่าด้วยเช่นกัน

สิ่งที่สำคัญที่จะไม่แตกต่างกับการทำ SEO Content เลยก็คือ การลงทุนสร้าง Content Video ผ่านช่องทาง Youtube Channel ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสินทรัพย์ออนไลน์ ที่นับวันจะมีแต่เพิ่มมูลค่ามากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ตราบเท่าที่เนื้อหาของสาระประโยชน์นั้นยังอัพเดทและใช้งานได้จริง รวมถึงการมี Follow ผู้ติดตามที่สนใจแนวทางของช่องมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ รู้จักแบรนด์ของเราและเชื่อมโยงต่อมายังเว็บไซต์ของแบรนด์ เพื่อนำไปสู่การตลาดและการขายได้ตาม Customer Journey ปกติ

4.4)

Influencer / Blogger or KOL

บ่อยครั้งในโลกออนไลน์ที่ผู้คนจะเลือกที่จะเชื่อสิ่งที่บุคคลที่สามสื่อสารออกมามากกว่า การสื่อสารของแบรนด์ เช่น เห็นรีวิวจากคนอื่นที่ตัวเองก็ไม่ได้รู้จัก หรือเห็นสิ่งที่ถูกสื่อสารผ่าน Influencer ที่ตัวเองชื่นชอบติดตามก็จะมีโอกาสที่จะคล้อยตามได้ง่ายกว่า ดังนั้น ช่องทางของการสื่อสารผ่าน Influencer / Blogger หรือ KOL ก็ยังเป็นแนวทางหนึ่งของกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ที่เหมาะสมกับแบรนด์ธุรกิจบางประเภทได้เป็นอย่างดี เช่น เครื่องสำอาง สินค้าเพื่อสุขภาพและอาหารเสริม โรงแรมที่พัก และแหล่งท่องเที่ยว ยานยนต์ อาหารและอื่นๆ ที่เป็นสินค้าส่วนบุคคล ก็สามารถสร้างประโยชน์จากแนวกลยุทธ์นี้ได้ทั้งหมดเช่นกัน 

ก่อนอื่นเราต้องมาทราบความแตกต่างและความเหมาะสม ของการเลือกใช้การสื่อสารผ่านกลุ่มช่องทางในรูปแบบนี้ก่อนว่ามีควรเลือกใช้ในลักษณะใดได้บ้าง

  •  Influencer คือ ผู้ทรงอิทธิพล ที่มีผู้ชื่นชอบในสิ่งที่เค้าเป็นหรือทำอยู่ในเรื่องๆ นั้น มักจะมีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก และผู้ติดตามก็จะเป็นผู้ชื่นชอบในเรื่องหนึ่งเรื่องใดเดียวกัน เช่น ท่องเที่ยว กีฬา ไลฟ์สไตล์ มุมมองธุรกิจ หรืออื่นๆ ดังนั้นสิ่งที่ Influencer สื่อสารออกมาจะได้รับการยอมรับ เพราะความน่าเชื่อถือในสิ่งที่เค้าเป็นและทุกคนมองเห็นจับต้องได้จริง สิ่งที่ Influencer แตกต่างจาก Blogger ก็คือ Influencer จะมีตัวตันอยู่ใน Platform ต่างๆ ที่หลากหลาย เช่นใน Facebook, IG, Youtube อาจจะช่องทางหนึ่งช่องทางใด หรือหลายช่องทางก็ได้ ในขณะที่ Blogger มักนำเสนอเรื่องราวของตัวเองผ่านรูปแบบของการเขียนใน Web Blog อย่างเดียวมากกว่า ดังนั้น หากเราต้องการเพียงการสร้างกระแสอย่างหนึ่งอย่างใด ที่ไม่จำเป็นต้องลงรายละเอียดมากนัก Influencer ก็จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ด้วยปริมาณของ Follower และรูปแบบของช่องทางที่หลากหลาย ในทางกลับกัน หากจำเป็นที่จะต้องลงรายละเอียดแบบชัดเจน เพื่อเพิ่มความเข้าใจและสื่อสารให้เกิดความน่าเชื่อคือ การเลือกแนวทางของรูปแบบของการเขียนผ่าน Blogger ก็จะช่วยให้สิ่งที่จะสื่อสารมีความชัดเจนทั้งมิติของรายละเอียดทีจะสื่อสาร รวมไปถึงการเล่าเรื่องที่นำไปสู่การกระตุ้น โน้มน้าวให้เชื่อถือ ได้ดีกว่า เช่นกัน

  •  KOL (Key Opinion Leader) ก็เป็นผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ ที่โดยพื้นฐานอาจจะไม่ได้มีอะไรแตกต่างจาก Influencer มากนัก สิ่งที่จะแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจนคงเป็นเรื่องของ KOL จะเป็นผู้เชี่ยวชาญแบบเฉพาะเจาะจงด้านหนึ่งด้านใดที่ชัดเจน มีความรู้ประสบการณ์ และผลลัพธ์จริง ที่จับต้องได้ ในขณะที่ Influencer อาจจะเป็นเพียงบุคคลทั่วไป ที่ชื่นชอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และสามารถนำเสนอออกมาได้ดี จนสามารถรวบรวมผุ้ที่ชื่นชอบในเรื่องราวเดียวกันมาได้มาก โดยทั่วไปแล้ว Influencer จึงมักจะอยู่ในกรอบของไลฟ์สไตล์ การกิน การท่องเที่ยว หรือความชื่นชอบทางด้านความงาม แฟชั่น แบบไม่ได้จำเป็นต้องลงรายละเอียดเชิงลึก นั่นเอง

    อีกส่วนหนึ่งก็คือ KOL ไม่ได้เป็นเพียงผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์โดยตรงเพียงอย่างเดียว หรือเป็นส่วนหลัก สิ่งสำคัญ คือ KOL เป็นผู้นำทางความคิดที่เกิดจากความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้านในโลกความเป็นจริงพื้นฐานด้วย เช่น เป็น นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ผู้ชำนาญการทางด้านการเงิน หรือการเทรดหุ้น ผู้มีความรู้ในด้านดิจิตอล หรือการตลาดออนไลน์ เป็นต้น ดังนั้นหากธุรกิจของเราอยู่ในสายงานที่มี KOL อย่างชัดเจนอยู่แล้ว และสินค้าหรือบริการของเราได้รับการพูดถึง แนะนำจาก KOL แล้ว ย่อมเป็นเรื่องที่ชัดเจนในการยืนยันคุณภาพและมาตรฐานของแบรนด์เราได้เป็นอย่างดี

5.)

CRM Marketing

การตลาดสร้างความสัมพันธ์ทีดีให้เกิดขึ้นกับลูกค้า

CRM (Customer Relationship Management) คือ การบริหารจัดการความสัมพันธ์อันดีระหว่างเรากับลูกค้า และช่วยเสริมสร้างให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด ซึ่งจะนำมาซึ่งความประทับใจ ชื่นชอบในแบรนด์ของเราจนเกิดการซื้อซ้ำ หรือบอกต่อกระจายออกไป นอกเหนือจากการทำกลยุทธ์ทางด้าน CRM เพื่อหวังผลทางการตลาดและการบริการลูกค้าแล้ว สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน คือ การเก็บข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากการทดลองใช้สินค้าหรือบริการ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ต่อแผนการพัฒนาสินค้าบริการ หรือผลิตภัณฑ์ให้สามารถตอบสนองได้ดีมากยิ่งๆ ขึ้นไปอีกในอนาคต

โดยกระบวนการของแนวคิดนี้หลักๆ จึงประกอบด้วยการเก็บข้อมูลเป็นพื้นฐาน และนำมาวิเคราะห์เป็นแผนกลยุทธ์ในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งมิติของการตลาดหรือการบริการอื่นๆ โดยทั่วไปแล้วประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

5.1)

Customer Segmentation

เก็บข้อมูลและแบ่งแยกกลุ่มหรือประเภทออกมา เช่น ชื่อ ตำแหน่ง ระดับรายได้ เขตพื้นที่พักอาศัย ช่องทางการสั่งซื้อ ประเภทของสินค้าที่ซื้อ เป็นต้น 

5.2)

Difined Customer Insight

เก็บข้อมูลพฤติกรรม และเหตุผลของการตัดสินใจซื้อ สิ่งที่สินค้าหรือบริการของเราไปแก้ไขปัญหาให้กับเค้าได้ ระดับของความจำเป็นในการใช้สินค้า เป็นต้น

5.3)

Customer Engagement & Reaction

การปฎิสัมพันธ์ของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ของเราในมิติต่างๆ หลังจากการตัดสินใจซื้อ เช่น มีความพึงพอใจจนอยากที่จะแสดงความชื่นชมในสินค้าหรือบริการ ผ่านช่องทางการรับฟังความคิดเห็นของฝ่าย Customer Service หรือการแจ้งปัญหาของการใช้งานเข้ามา เป็นต้น ซึ่งแบรนด์ของเราจะต้องเปิดช่องทางพวกนี้ไว้รองรับ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้กลับมาวิเคราะห์และปรับแก้ไข

5.4)

Customize CRM Strategy

มื่อเราได้ข้อมูลทั้งหมดมากเพียงพอแล้ว เราก็สามารถวางแผนและออกแบบกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสม สำหรับกลุ่มลูกค้าเราเดิมได้อย่างแม่นยำ เช่น คอยติดตามสอบถามความคิดเห็น หรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการใช้งานในสินค้าหรือบริการ เพื่อสร้างความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น จนนำไปสู่ การออกแคมเปญการตลาดสำหรับการซื้อซ้ำหรือบอกต่อ ก็สามารถทำได้

สำหรับกลุ่มธุรกิจทีเหมาะสมจะนำแนวทางนี้ไปใช้งาน หลักๆ คงเป็นธุรกิจที่มีฐานของลูกค้าเดิมอยู่เป็นปริมาณจำนวนมากเพียงพอ และสินค้าหรือบริการสามารถซื้อซ้ำได้บ่อย และง่ายในการแนะนำบอกต่อ เช่น การบอกต่อร้านอาหารที่ชอบหรือที่พัก สถานทีท่องเที่ยว กลุ่มธุรกิจยานยนต์ทุกประเภท สินค้าเฟอร์นิเจอร์และการตกแต่งบ้าน สินเชื่อธุรกิจ เป็นต้น

ในท้ายที่สุดแล้ว เราที่สามารถเลือกแนวทางในการทำการตลาดออนไลน์ โดยผสมผสานกลยุทธ์ในรูปแบบต่างๆ เข้าด้วยกันตามความเหมาะสม เลือกกลยุทธ์หลักและกลยุทธ์รอง ตามลำดับลงมาได้ สำคัญที่สุดคือ ให้มีภาพของการเชื่อมโยงของแผนงานที่ชัดเจน ทั้งในมิติของสิ่งที่ดำเนินการและการวัดผลไปสู่เป้าหมาย เมื่อทำแล้วมีการปรับปรุงแก้ไข พัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างแท้จริง ก็จะทำให้การทำการตลาดออนไลน์ของเราประสบความสำเร็จเหนือคู่แข่งได้อย่างไม่ยากนัก

แชร์แนะนำให้ผู้อื่นที่คิดว่าบทความนี้น่าจะมีประโยชน์

Narongrit Uppaklin (Nidd)

Narongrit Uppaklin (Nidd)

Executive Director & Founder

20 ปีของเส้นทางคนรับทำเว็บไซต์สู่การเปลี่ยนแปลงในยุคของโลกดิจิตอลและธุรกิจออนไลน์

Narongrit Uppaklin

Narongrit Uppaklin

Executive Director & Founder 20 ปีของเส้นทางคนรับทำเว็บไซต์สู่การเปลี่ยนแปลงในยุคของโลกดิจิตอลและธุรกิจออนไลน์

We provide personalyze strategic and unique execution services for your Digital Transformation

Digital Transformation Consultant

วางแผนกลยุทธ์เพื่อการปรับเปลี่ยนองค์กร สู่โลกดิจิทัล

  • Business & Digital Solutions Strategy – วางกลยุทธ์แนวทางธุรกิจด้วยดิจิทัลโซลูชั่นเพื่อการแข่งขันกับตลาด
  • Project Execution Consultant – ให้คำปรึกษาและดูแลการดำเนินการในโครงการดิจิทัลต่างๆ
  • Digital Marketing Strategic Planning – วางแผนกลยุทธ์การตลาด
  • In House Team Coaching & Outsourcing – วางแผนแนะนำปรับทักษะทีมภายในองค์กร และจัดหาทีมภายนอกเพิ่มเติม
  • Goals Setting & Measurement – ออกแบบเป้าหมายและการวัดผล

Digital Platform & Ecosystem Solution

ออกแบบดำเนินการวางระบบเว็บไซต์สำหรับองค์กรธุรกิจเพื่อการตลาด

  • Web Strategic Brand & Marketing – วางกลยุทธ์ ออกแบบจัดทำเว็บไซต์การตลาดองค์กรธุรกิจทุกประเภท
  • E-commerce / Brandshop Platform Solutions & Eco-System – วางกลยุทธ์ ออกแบบจัดทำระบบเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซและระบบนิเวศน์ที่เกี่ยวข้อง
  • Omnichannel Platform – วางกลยุทธ์ ออกแบบจัดทำแพลทฟอร์มสำหรับรองรับการสั่งซื้อหลายช่องทาง
  • Data Analytics Solutions – วางกลยุทธ์ และดำเนินการวางระบบในการเก็บข้อมูลการตลาดเพื่อสนับสนุนธุรกิจ
  • Digital Brand & Marketing Solutions วางกลยุทธ์ในการพัฒนาแบรนด์และแผนการตลาดอย่างเป็นระบบ
  • Strategic Brand & Identity Planning – ศึกษาวิเคราะห์วางแผนการพัฒนาแบรนด์ และการออกแบบอัตลักษณ์
  • Digital Marketing Solutions Driven – รับดำเนินการจัดหาโซลูชั่นทางการตลาดที่เหมาะสมกับแผนงาน

Digital Academy & Bootcamp

สถาบันให้ความรู้เพื่อเพิ่มและพัฒนาทักษะทางด้านดิจิทัล

  • Digital Online Course – คอร์สเรียนออนไลน์สำหรับผู้ที่สนใจพัฒนาทักษะเพิ่มเติมทางด้านดิจิทัล
  • Digital Workshop Course – คอร์สสอนสด เน้นปฎิบัติเพื่อเพิ่มประสบการณ์จริง สำหรับทีมหรือองค์กรดิจิทัล
  • Digital Private Coaching – บริการให้คำปรึกษา แนะแนวเพื่อการพัฒนาทักษะและแผนงานที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ดียิ่งขึ้น
  • Digital Academy & Bootcamp – หลักสูตรอบรมบ่มเพาะ ที่เน้นสร้างพัฒนาการอย่างแท้จริง

 
สำหรับธุรกิจที่สนใจในบริการสามารถติดต่อสอบถาม แจ้งปัญหาและแนวทางของความต้องการได้ตลอดเวลา ทางเรายินดีที่จะพูดคุยรับฟังและพยายามช่วยเหลือ จัดหาแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยทีมงานทั้งในส่วนของ Greyscale Digital เอง รวมไปถึง Official Partner ทีหลากหลายในความเชี่ยวชาญที่ครบคลุมแนวทางกลยุทธ์ดิจิทัลทุกแขนง เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง
 
Official Partner

20 ปีของเส้นทางคนรับทำเว็บไซต์

สู่การเปลี่ยนแปลงในยุคของโลกดิจิตอลและธุรกิจออนไลน์

จากจุดเริ่มต้นของความสนใจการเข้ามาของกระแส Internet ก่อนยุคปี 2000 หรือ Y2K ต้องเริ่มเรียนรู้ใหม่ จาก Graphic Designer มาสู่ Web Designer ไปสู่การหัดเขียน Code บ้างแบบมั่วๆ จนมาเป็นคนออกแบบและรับทำเว็บไซต์ในยุคนั้น และเปิดบริษัทรับทำเว็บไซต์ในยุคต้นๆ ต้องผ่านอะไรมาบ้าง อยากแชร์ประสบการณ์เท่าที่จะพอนึกได้

Play Video

Experience

ตอนที่เริ่มต้นก็คงไม่มีใครคาดคิดว่าจะต้องเจออะไรบ้างและลงเอยยังไง

  • นำเสนอแผนงานขายเว็บไซต์และการตลาดออนไลน์อื่นๆ มากกว่า 2000++ รายทั้งเล็ก กลางใหญ่ หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน SME และรายบุคคล
  • เข้าร่วมทำงานเว็บไซต์ กับแบรนด์หรือหน่วยงานชั้นนำระดับประเทศมามากมาย ทั้งในฐานะคู่สัญญาหลัก และ Out Source สนับสนุน เช่น Oishi, Ichitan, พฤกษา, Santiburi Group ในเครือ บุญรอด, Siamsamsung Life Insurerance, อาคเนย์ประกันภัย, ปูนต์อินทรีย์, Sabrina, ปตท, ธนาคารอาคารสงเคราะห์, อายิโนะโมโต๊ะ, มหาวิทยาลัยหอการค้า, ช.การช่าง อื่นๆ มีมากมาย
  • ร่วมงานกับทีมทำเว็บไซต์และการตลาดดิจิตอลอื่นๆ ทั้งในส่วนของทีมงานประจำและ Outsource มากกว่า 500 คน
  • ก่อตั้ง จัดหาและบริหารทีมงานเว็บไซต์และดิจิตอลทั้งหมด 8 ทีม
  • สร้าง Digital Platform ที่สนันสนุนยอดขายออนไลน์ในระดับ Scale ใหญ่ๆ มาพอสมควร
  • เริ่มเปิด Greyscale Digital Academy สอนและให้การอบรมไปแล้วมากกว่า 20 คอร์สเรียน
  • เป็นที่ปรึกษาวางกลยุทธ์ดิจิตอลแพลทฟอร์ม อิสระ ให้กับบริษัทธุรกิจต่างๆ ที่ต้องการ Transform สู่โลกดิจิตอล อย่างเต็มตัว

กว่า 2 ปี ที่ได้เริ่มต้นในการแชร์ประสบการณ์ ผ่านคอร์สอบรมต่างๆ ทั้ง Public Private หน่วยงานมหาวิทยาลัย และทีมภายในบริษัท ยิ่งได้สอนมากตัวเราเองก็ได้เรียนรู้กลับไปมากยิ่งขึ้นด้วย มันจึงเป็นความสุขเล็กๆ ทุกครั้งของกิจกรรมการสอน การอบรม หรือการได้แบ่งปันประสบการณ์

NID_STORY-2
NID_STORY-3
NID_STORY-4

เมื่อโลกยังไม่หยุดหมุน เราก็ไม่อาจ
จะหยุดเรียนรู้การเปลี่ยนแปลง และปรับตัวได้

Thinking

บ่อยครั้งที่ความคิดดีๆ มักมาจนเราเกือบจะสาย

หลังจากการเกิดขึ้นของยุคบูมอย่าง Social Network และ Facebook ในบ้านเรา เมื่อเกือบสิบปีที่ผ่านมา การเป็นแค่เพียงคนรับทำเว็บไซต์ทำให้เรากำลังจะกลายเป็นคนตกยุคอย่างรวดเร็ว และแทบจะทันที ที่อาจจะยังมีคุณค่าต่อตลาดภาพรวม แต่ก็น้อยลงหรือยังไม่ใช่สิ่งที่ตลาดต้องการเป็นอันดับต้นๆ และนั่นอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของประสบการณ์และโอกาสใหม่ๆ

ได้มีโอกาสอีกครั้งกับการเข้าร่วมงานกับ Digital Agency ในยุคเริ่มต้น เมื่อปี 2012 ที่ค่อนข้างเติบโตอย่างรวดเร็ว และปัจจุบันก้าวขึ้นสู่บริษัททางการตลาดชั้นนำของเมืองไทย ทำให้มุมมองด้านธุรกิจ และการตลาดของเราเองเปิดกว้างขึ้น เริ่มศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ และเป็นที่มาของการศึกษาลงในรายละเอียดของ Web Strategy Principles ที่เป็น Framework ที่มีองค์ความรู้อย่างชัดเจนในต่างประเทศมาตั้งแต่ปี 2011 แต่เราไม่เคยได้รู้ตรงนี้มาก่อน เท่ากับว่า ทำเว็บไซต์มา 10 กว่าปี กับรู้ไม่ได้ลึกจริงๆ อย่างที่มันควรเป็น

รู้อะไรไม่สู้...รู้ว่าเรา..ไม่รู้อะไร

นั่นอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมากของการเปลี่ยนมุมมองของความไม่รู้ ไม่ใช่เรื่องว่าวันนี้เราเก่งหรือมีความสามารถแค่ไหน แต่เป็นคำถามว่า..เรายังไม่รู้อะไรบ้างที่เราจำเป็นจะต้องรู้ และจะต้องย้ำเตือนตัวเองเสมอในยุคนี้ ที่จะไม่หยุดเรียนรู้และพยายามจะตั้งคำถามกับตัวเองในทุกๆ วันว่า ถ้าเราต้องการก้าวไปข้างหน้าไปสู่เป้าหมายความสำเร็จที่เราได้ตั้งไว้ เรายังจำเป็นจะต้องเรียนรู้ และลงมือปฎิบัติในเรื่องอะไรบ้าง อย่างจริงจัง

Change & Chance

การเปลี่ยนแปลงมักสร้างโอกาสใหม่ๆ เสมอ

แนวคิดนี้เรียบง่าย แต่กลับไม่ง่ายนักในเชิงปฏิบัติจริงสำหรับคนที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่กลางคน ที่ไม่อยากเปลี่ยนแปลงอะไร ความคิดเรื่องการเปิดสอนมีมานานเป็นปี กว่าจะได้เริ่มต้นทำจริงๆ การตัดสินใจและลงมือทำทันที เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งยวด สิ่งนี้เองที่เราได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ขึ้นมา ในช่วงต้นปี 2017 หลังจากตัดสินใจแล้วว่าจะลงมือทำทันที ใช้เวลาเพียงครึ่งวันสำหรับการร่าง Outline Course ‘The Fundamental of Creative Web Design Business’ คอร์สอบรมสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเว็บไซต์ทั้งที่เป็นคนทำงานและผู้ที่สนใจทั่วไป และเปิดขายผ่านช่องทาง Facebook Fanpage ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และเปิดอีก 4 หลักสูตรและสอนกว่า 20 รอบคอร์สเรียน มากกว่า 300 คนผู้อบรม ตลอดเวลา 2 ปีกว่า จนถึงปัจจุบัน

เราไม่รู้ว่าเราทำอะไรได้ จนกว่าจะเริ่มลงมือทำมันจริงๆ

Painpoint & Solutions

ปัญหาอุปสรรคและโอกาสทีดีสำหรับทุกคนที่เปิดใจให้กับมัน

แม้การเข้ามาและกระแสการเติบโตของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีความจำเป็นจะต้องพึ่งพาศาสตร์และองค์ความรู้ เทคนิคกลยุทธ์ทางด้านดิจิตอลออนไลน์ นั้นเกิดการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง แบบไม่อาจจะปฏิเสธได้ ในทางปฏิบัติจริงเรากลับพบปัญหามากมายที่ยังคงเป็นช่องว่าง ช่องโหว่ รอการเติมเต็มหรือแก้ไข ตั้งแต่ แนวคิดต่อโลกยุคใหม่ในปัจจุบันต่อภาคธุรกิจที่จำเป็นต้องปรับตัวเองให้ทัน และยังคงความแข็งแกร่ง สามารถเดินหน้าต่อไปในตลาดหรืออุตสาหกรรมของตัวเอง รวมถึงปัญหาของศักยภาพในการผลิตบุคคลกรแบบพร้อมใช้งานในปัจจุบันที่เป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย จึงเกิดสภาวะไม่สมดุลย์อย่างรุนแรง และไม่นำมาซึ่งความชัดเจนของทิศทางอย่างแท้จริง โดยส่วนตัวผมแอบนึกในใจว่าเป็นยุคแห่ง “ดิจิตอลคลุกฝุ่น” ก็ว่าได้ มันดูคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ไม่รู้อะไรจริงหรือไม่จริง เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกับตัวเองในการนำมาใช้งาน

แทบจะต้องบอกว่าไม่สูตรสำเร็จเลยในนาทีนี้ นอกเหนือจากการเรียนรู้มากๆๆ นำไปทดสอบด้วยการลงมือปฏิบัติจริง วัดผลอย่างละเอียด วิเคราะห์ผลที่ได้แล้วนำไปปรับปรุงเพิ่มเติม จนกว่าจะได้สภาพของผลลัพธ์ในแบบที่ตัวเองต้องการ อย่าเชื่ออะไรมากเกินไป แต่ก็ไม่ควรต่อต้านแบบปิดใจไม่เปิดรับ เรามีเรื่องที่ต้องเรียนรู้เสียมากจนไม่รู้จะเริ่มอะไรก่อนอะไรหลัง ความยากของยุคนี้อาจจะคือเรื่องนี้นี่เอง…เราไม่รู้ว่าเราควรเรียนรู้อะไร ลงทุนทั้งเงินทองและเวลากับอะไรจริงๆ..ที่เหมาะกับเรา แต่นั่นก็เป็นช่องว่างที่ได้กล่าวไว้ว่า คนอื่น ผู้อื่น หรือคู่แข่งของคุณก็เช่นกัน ถ้าใครหาแบบฉบับความชัดเจนของแนวคิดในการเดินหน้าพัฒนาตัวเองหรือธุรกิจได้แล้ว เริ่มลงมือก่อน ทดลองก่อน โอกาสความสำเร็จก็ยังนับว่ามีอยู่มาก

สิ่งที่สำคัญสำหรับวันนี้ อาจจะไม่ใช่การตั้งคำถามว่า มันจะผิดพลาดล้มเหลวไหม แต่อาจจะเป็นคำถามว่า เราจะลงมือทำเท่าที่ทำได้อย่างเร็วที่สุดได้เมื่อไหร่... ก็เป็นได้

Greyscale Digital – ก็หวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแห่งการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และแบ่งปันระหว่างกันเพื่อพัฒนาการไปสู่ความสำเร็จสำหรับทุกท่านและตัวพวกเราเองด้วยเช่นกัน

โลกหมุนเร็วขึ้น เวลาก็จะสั้นลง อย่ารออะไร
เน้นลงมือทำสำคัญที่สุด

nobody perfect but everybody couldn’t stop in digital world, and every minute it’s opportunity to

Success.

Digital Strategy & Consultant

Provide your business transformation strategic plan to digital era.

Digital Management Solutions

Execute & driven your digital strategic plan to absolute results.

Digital Academy & Bootcamp

Sharing our experiences and practice to young entreprenour.

Digital X Beyond

Prepare new solutions for the future challenge.

BKK Office​

CNX Office

Contact Us

สนใจขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ จัดทำเว็บไซต์ทุกประเภทและการตลาดออนไลน์ หรือต้องการติดต่อสอบถามในเรื่องอื่นๆ สามารถติดต่อผ่านทุกช่องทางได้ตลอดเวลา 24 ชม.

ยินดีบริการรับงานในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลและต่างจังหวัดทั่วประเทศ

nobody perfect but everybody couldn’t stop in digital world, and every minute it’s opportunity to

Success.

Digital Strategy & Consultant

Provide your business transformation strategic plan to digital era.

Digital Management Solutions

Execute & driven your digital strategic plan to absolute results.

Digital Academy & Bootcamp

Sharing our experiences and practice to young entreprenour.

Digital X Beyond

Prepare new solutions for the future challenge.

Contact Us

สนใจขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ จัดทำเว็บไซต์ทุกประเภทและการตลาดออนไลน์ หรือต้องการติดต่อสอบถามในเรื่องอื่นๆ สามารถติดต่อผ่านทุกช่องทางได้ตลอดเวลา 24 ชม.

ยินดีบริการรับงานในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลและต่างจังหวัดทั่วประเทศ

BKK Office​

CNX Office

สำเร็จแล้ว!

เราได้รับข้อความของคุณแล้ว
เราจะรีบตอบกลับคุณโดยเร็วที่สุด